ความเอนเอียงในการตัดสินใจ ทางความเชื่อ และทางพฤติกรรม ของ รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

ความเอนเอียงหลายอย่างเหล่านี้มีผลต่อการเกิดความเชื่อ ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจและทางเศรษฐกิจ และต่อพฤติกรรมมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไปความเอนเอียงจะเกิดขึ้นในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆคือ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ความแปรเปลี่ยนไปจากพฤติกรรมปกติสามารถจำแนกได้โดย

ชื่อคุณลักษณะ
Ambiguity effect (ปรากฏการณ์ความคลุมเครือ)เป็นความโน้มเอียงที่จะหลีกเลี่ยงทางเลือกที่ไม่มีข้อมูลว่า ผลที่ได้จะเป็นผลบวกหรือไม่ และเลือกทางเลือกที่มีข้อมูล[8]
Anchoring หรือ focalismเป็นความโน้มเอียงที่จะตั้งหลัก (หรือ anchor) ที่ข้อมูลที่มี เมื่อจะตัดสินใจ (ปกติเป็นข้อมูลชิ้นแรกที่ได้เกี่ยวกับเรื่องนั้น)[9][10]
Attentional bias (ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ)เป็นความโน้มเอียงที่ความคิดซ้ำ ๆ จะมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเรา[11]
Availability heuristic (ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย)เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินเหตุการณ์ที่สามารถนึกถึงได้ง่ายว่ามีโอกาสเกิดสูงเกินไป โดยอาจมีอิทธิพลจากความเก่าใหม่ของความจำ หรือว่าเป็นความจำที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์รุนแรงแค่ไหน[12]
Illusory truth effect (ปรากฏการณ์ความจริงเทียม) หรือ Availability cascadeเป็นกระบวนการที่เสริมกำลังในตัว ที่ความเชื่อในสังคมดูเหมือนจะเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเกิดการพูดการกล่าวถึงซ้ำ ๆ กัน (เหมือนกับความเชื่ออย่างหนึ่งของเด็กว่า "พูดอะไรซ้ำ ๆ กัน นาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นจริง")[13]
Backfire effect (ปรากฏการณ์เกิดผลตรงกันข้าม)เมื่อเรามีปฏิกิริยาต่อหลักฐานที่คัดค้านความคิดของเรา ด้วยความเชื่อที่มีกำลังเพิ่มขึ้น[14]
Bandwagon effect (ปรากฏการณ์ขบวนแห่)เป็นความโน้มเอียงที่จะทำ (หรือเชื่อ) สิ่งต่าง ๆ เพราะคนอื่น ๆ ทำหรือเชื่อเรื่องเดียวกัน[15]
Base rate fallacy (เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน) หรือ base rate neglect (การละเลยอัตราพื้นฐาน)เป็นความโน้มเอียงที่จะไม่ใส่ใจข้อมูลอัตราพื้นฐาน (คือข้อมูลทางสถิติทั่วไป) แล้วพุ่งจุดสนใจไปที่ข้อมูลเฉพาะ (เช่นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงกับกรณีใดกรณีหนึ่ง)[16]
Belief bias (ความเอนเอียงโดยความเชื่อ)เป็นการประเมินเหตุที่เอนเอียง โดยความเชื่อว่าผลที่ได้เป็นไปได้มากแค่ไหน แทนที่จะประเมินว่า เหตุที่ประเมินนั้นสนับสนุนผลที่ได้หรือไม่[17]
Bias blind spot (จุดบอดต่อความเอนเอียง)เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าตนเองมีความเอนเอียง (มีอคติ) น้อยกว่าคนอื่น หรือที่กำหนดความเอนเอียงทางประชานของผู้อื่นได้มากกว่าของตน[18]
Cheerleader effect (ปรากฏการณ์ผู้นำเชียร์)เป็นความโน้มเอียงที่ผู้หญิงจะดูสวยในกลุ่มมากกว่าตามลำพัง[19]
Choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนสิ่งที่เลือก)เป็นความโน้มเอียงที่จะนึกถึงสิ่งที่เลือกแล้วในอดีตว่าดี เกินความเป็นจริง[20]
Clustering illusion (มายาการจับกลุ่ม)เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ความสำคัญมากเกินไปแก่รูปแบบการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ในช่วงระยะสั้น ๆ (หรือแก่การจับกลุ่มของเหตุกาณ์) ที่จริง ๆ เป็นเหตุการณ์สุ่มในระยะยาว ซึ่งก็คือ การเห็นรูปแบบที่ไม่มีอยู่จริง ๆ (เพราะเป็นเหตุการณ์สุ่ม)[10]
Confirmation bias (ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน)เป็นความโน้มเอียงที่จะหา ตีความ พุ่งความสมใจ และทรงจำข้อมูลในรูปแบบที่จะยืนยันความเชื่อความคิดที่มีอยู่แล้วของตน[21]
Congruence bias (ความเอนเอียงในการทำให้สอดคล้องกัน)เป็นความโน้มเอียงที่จะทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบโดยตรง และไม่ทดสอบสมมติฐานที่อาจเป็นไปได้อื่น ๆ[10]
Conjunction fallacy (เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม)เป็นความโน้มเอียงในการสันนิษฐานว่า เหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจงมีความเป็นไปได้สูงกว่าเหตุการณ์ทั่วไป ซึ่งเป็นความน่าจะเป็นที่เป็นไปไม่ได้[22]
Conservatism หรือ regressive biasสภาวะทางใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ค่าสูงหรือโอกาสความเป็นไปได้สูงมีการประเมินสูงเกินไป และค่าต่ำหรือโอกาสเป็นไปได้ต่ำมีการประเมินน้อยเกินไป[23][24][25][[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]]
Conservatism (Bayesian)เป็นความโน้มเอียงที่จะแก้ความเชื่อของตนให้เบนไปตามความเป็นจริงอย่างไม่เพียงพอเมื่อได้หลักฐานใหม่[23][26][27]
Contrast effect (ปรากฏการณ์การเปรียบต่าง)เป็นการรับรู้สิ่งเร้าที่ดีขึ้น หรือลดลง เมื่อเทียบกับสิ่งเร้าที่เพิ่งสังเกตรู้ใหม่เป็นตัวเปรียบต่าง[28]
Curse of knowledge (คำสาปเพราะความรู้)เมื่อคนที่มีข้อมูลดีกว่าไม่สามารถหรือยากที่จะคิดถึง ปัญหาจากมุมมองของคนที่มีข้อมูลน้อยกว่า[29]
Decoy effect (ปรากฏการณ์สิ่งล่อ)ความชอบใจในทางเลือก ก หรือ ข ที่เปลี่ยนไปชอบใจ ข เมื่อแสดงทางเลือก ค ที่คล้ายกับทางเลือก ข แต่ไม่ได้ดีกว่า
Denomination effect (ปรากฏการณ์หน่วยเงินตรา)เป็นความโน้มเอียงที่จะใช้จ่ายมากกว่าถ้าเงินเป็นหน่วยเล็ก ๆ แทนที่จะเป็นหน่วยใหญ่ ๆ[30]
Distinction bias (ความเอนเอียงให้แตกต่าง)เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นทางเลือกสองทางว่าไม่เหมือนกันเมื่อประเมินทางเลือกสองอย่างนั้นพร้อมกัน มากกว่าเมื่อประเมินแยกกันต่างหาก[31]
Duration neglect (การละเลยระยะเวลา)การละเลยระยะเวลาเหตุการณ์หนึ่ง ๆ เมื่อพยายามจะกำหนดค่าว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีหรือไม่
Empathy gap (ช่องว่างการเห็นใจ)เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินอิทธิพลหรือกำลังความรู้สึกของตนเองหรือของคนอื่นต่ำเกินไป
Endowment effect (ปรากฏการณ์การสละ)เป็นความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องมูลค่าเพื่อจะสละวัตถุหนึ่ง ๆ สูงกว่าที่ตนยินดีจะให้เพื่อที่จะแลกเอาวัตถุนั้น[32]
Essentialism (การเอาแต่หลัก)เป็นการจัดบุคคลและสิ่งของตามธรรมชาติหลักของสิ่งนั้น แม้ว่าบุคคลหรือสิ่งเช่นนั้นจะมีความต่าง ๆ กัน[ไม่แน่ใจพูดคุย][33]
Exaggerated expectation (ความคาดหวังเกินส่วน)หลักฐานที่ได้ตามจริงในโลก ไม่รุนแรงหรือมีค่าน้อยกว่าตามที่เราหวัง[[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]][23][34]
Experimenter's bias (ความเอนเอียงของผู้ทดลอง) หรือ Experimenter's expectation bias (ความเอนเอียงเพราะการคาดหวังของผู้ทดลอง)เป็นความเอนเอียงของผู้ทำการทดลองที่จะเชื่อ ยืนยัน แล้วตีพิมพ์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความคาดหวังที่ตนมีเกี่ยวกับผลของการทดลอง และที่จะไม่เชื่อ ทิ้ง หรือดูถูกข้อมูลที่ไม่ตรงกับความคาดคิดที่มีน้ำหนักพอ ๆ กัน[35]
Focusing effect (ปรากฏการณ์พุ่งจุดสนใจ)เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ความสำคัญกับจุดใดจุดหนึ่งของเหตุการณ์มากเกินไป[36]
Forer effect (ปรากฏการณ์ฟอเรอร์) หรือ Barnum effect (ปรากฏการณ์บาร์นัม)เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะให้คะแนนคำพรรณนาบุคลิกของตนที่ตนเชื่อว่าทำเฉพาะให้แก่ตน ว่ามีความแม่นยำสูง แต่ว่าความจริงเป็นคำที่คลุมเครือและทั่วไปพอที่จะกล่าวได้ถึงคนอื่นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถใช้เป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งเกี่ยวกับความนิยมชมชอบความเชื่อหรือความคิดบางอย่างเช่น โหราศาสตร์ การบอกโชคชะตา การดูลายมือ และการทดสอบบุคลิกบางอย่าง
Framing effect (ปรากฏการณ์การวางกรอบ)การสรุปข้อมูลเดียวกันต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้นแสดงให้ดูอย่างไร หรือใครเป็นคนแสดงให้ดู
Frequency illusion (มายาความชุกชุม)การแปลสิ่งเร้าผิด ที่คำ ชื่อ หรืออะไรอย่างอื่น ที่บุคคลให้ความสนใจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ปรากฏว่าเหมือนกับมีอย่างชุกชุมอย่างเป็นไปไม่ได้หลังจากนั้นไม่นาน (สามารถสับสนได้กับ recency illusion หรือ selection bias)[37] เป็นมายาที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า Baader-Meinhof Phenomenon[38]
Functional fixedness (การยึดกำหนดหน้าที่)จำกัดบุคคลให้ใช้วัตถุตามวิธีที่ใช้สืบต่อกันมาเพียงเท่านั้น
Gambler's fallacy (เหตุผลวิบัติของนักการพนัน)ความโน้มเอียงที่จะคิดว่า เหตุการณ์อดีตมีอิทธิพลต่อความน่าจะเป็นในอนาคต แต่จริง ๆ แล้วไม่มี เป็นผลจากแนวคิดที่ผิดพลาดของกฎเกี่ยวกับตัวเลขเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น "ฉันได้โยนเหรียญนี้ได้หัว 5 ครั้งติดต่อกัน ดังนั้น โอกาสที่จะได้ก้อยในครั้งที่ 6 จะสูงกว่าได้หัว"
Hard-easy effect (ปรากฏการณ์ยากง่าย)ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อความแม่นยำของการตัดสินใจว่างานหนึ่งยากน้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของงานนั้น คือเป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินโอกาสสำเร็จสำหรับงานที่ยากมากเกินไป และสำหรับงานที่ง่ายน้อยเกินไป[23][39][40][41]
Hindsight bias (ความเอนเอียงการเข้าใจปัญหาย้อนหลัง)บางครั้งเรียกว่าปรากฏการณ์ "I-knew-it-all-along" (ฉันรู้อยู่ก่อนแล้ว) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นเหตุการณ์ในอดีตว่า เป็นเรื่องพยากรณ์ได้[42] แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลจริง ๆ หรือมีน้อยไม่พอที่จะพยากรณ์ได้จริง ๆ
Hostile media effect (ปรากฏการณ์สื่ออคติ)ความโน้มเอียงที่จะเห็นสื่อมวลชนว่ามีอคติ เนื่องจากความเห็นเป็นพรรคเป็นฝ่ายที่มีกำลังของตน
Hot-hand fallacy (เหตุผลวิบัติมือขึ้น)เป็นความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า บุคคลที่กำลังประสบความสำเร็จมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสำหรับการกระทำต่อ ๆ ไป (เช่นในการยิงโกลในการกีฬา) ดีกว่า
Hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา)การลดค่า (Discounting) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะชอบใจได้รับสิ่ง ๆ หนึ่งทันที แทนที่จะรอทีหลัง การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา เป็นเหตุให้บุคคลเลือกอย่างไม่สม่ำเสมอแล้วแต่เวลา บุคคลอาจจะเลือกอะไรในวันนี้ ที่ในอนาคตจะไม่ชอบใจเลือก แม้ว่าจะใช้เหตุผลเดียวกัน[43] รู้จักกันในชื่ออื่นว่า current moment bias และ present bias
Identifiable victim effect (ปรากฏการณ์ผู้รับเคราะห์ที่ระบุได้)เป็นความโน้มเอียงที่จะตอบสนองต่อบุคคลที่กำลังมีอันตรายคนเดียวที่ระบุได้ มากกว่าต่อบุคคลกลุ่มใหญ่ที่กำลังมีอันตราย[44]
IKEA effect (ปรากฏการณ์ไอเคีย)เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ค่ากับสิ่งที่บุคคลประกอบด้วยมือของตนเกินสัดส่วน เช่นเครื่องเรือนจากร้านอิเกีย ไม่ว่าสิ่งที่ได้นั้นจะดีหรือไม่
Illusion of control (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้)เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินว่า ตนสามารถควบคุมเหตุการณ์ภายนอกได้ มากเกินไป[45]
Illusion of validity (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าสมเหตุสมผล)เป็นความเชื่อว่าข้อมูลที่ได้เพิ่มขึ้น จะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการพยากรณ์ให้สมเหตุสมผล แม้ว่า จริง ๆ แล้วจะไม่[46]
Illusory correlation (สหสัมพันธ์เทียม)การเห็นอย่างผิดพลาดว่า เหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่สัมพันธ์กันมีความสัมพันธ์กัน[47][48]
Impact bias (ความเอนเอียงเรื่องผลกระทบ)เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินระยะเวลาหรือความรุนแรง เกี่ยวกับอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มากเกินไป[49]
Information bias (ความเอนเอียงเพื่อจะมีข้อมูล)เป็นความโน้มเอียงที่จะหาข้อมูลแม้ว่าจะไม่มีผลต่อการกระทำ[50]
Insensitivity to sample size (ความไม่ไวต่อขนาดตัวอย่าง)เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินความต่าง ๆ กันในขนาดตัวอย่างที่มีน้อย (small sample) น้อยเกินไป
Irrational escalation (การเพิ่มการกระทำโดยไม่สมเหตุผล)ปรากฏการณ์ที่บุคคลเพิ่มทุนการกระทำในเรื่องที่ตกลงใจ โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับทุนการกระทำที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว แม้ว่าจะมีหลักฐานแสดงว่า ข้อตกลงใจนั้นไม่ดี รู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า sunk cost fallacy (เหตุผลวิบัติโดยต้นทุนจม)
Less-is-better effect (ปรากฏการณ์น้อยกว่าย่อมดีกว่า)เป็นความโน้มเอียงที่จะชอบใจสิ่งของชุดที่เล็กกว่า มากกว่าชุดที่มากกว่า ถ้าประเมินต่างหากจากกัน แต่ไม่ใช่ถ้าประเมินร่วมกัน
Endowment effect (ปรากฏการณ์การสละ) หรือ Loss aversion (การหลีกเลี่ยงการเสีย)ประโยชน์ที่เสียในการสละวัตถุ มากกว่าประโยชน์ที่ได้ในการได้วัตถุ[51] (ดูเหตุผลวิบัติโดยต้นทุนจม และปรากฏการณ์การสละ).
Mere exposure effect (ปรากฏการณ์เพียงแต่ประสบ)เป็นแนวโน้มที่จะแสดงความชอบใจต่อสิ่งต่าง ๆ เพียงเพราะว่าคุ้นเคยกันมัน[52]
Money illusion (มายาเงิน)เป็นแนวโน้มที่จะพุ่งความสนใจไปที่ค่าของเงินที่ตราไว้ แทนที่จะสนใจกำลังซื้อของค่าเงินนั้น[53]
Moral credential effect (ปรากฏการณ์การรับรองทางจริยธรรม)เป็นแนวโน้มของคนที่มีประวัติว่าเป็นคนไม่มีความเดียดฉันท์ ที่จะเพิ่มความเดียดฉันท์
Negativity effect (ปรากฏการณ์มองในแง่ลบ)เป็นแนวโน้มที่บุคคล เมื่อประเมินเหตุของพฤติกรรมของบุคคลที่ตนไม่ชอบ ที่จะบอกว่าพฤติกรรมบวกเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมลบเป็นผลจากธรรมชาติภายในของบุคคลนั้น
Negativity bias (ความเอนเอียงในการจำในแง่ลบ)เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่มนุษย์สามารถระลึกถึงความทรงจำที่ไม่น่าชอบใจได้ดีกว่าความทรงจำที่น่าชอบใจ[54]
Neglect of probability (การละเลยความน่าจะเป็น)เป็นความโน้มเอียงที่จะไม่สนใจเรื่องความน่าจะเป็นเลย เมื่อต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน[55]
Normalcy bias (ความเอนเอียงว่าปกติ)เป็นการปฏิเสธที่จะวางแผน หรือแม้จะตอบสนองต่อ ความหายนะความล่มจมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
Not invented here (ไม่ได้ประดิษฐ์ที่นี่)เป็นความรังเกียจที่จะเข้าไปยุ่งกับผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน หรือความรู้ที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นภายในกลุ่ม เป็นปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ไอเคีย
Omission bias (ความเอนเอียงในเรื่องการละเว้น)เป็นความโน้มเอียงในการตัดสินว่าการกระทำเชิงลบ เลวมากกว่าการไม่กระทำที่ทำให้เกิดผลลบ[56]
Optimism bias (ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี)เป็นความโน้มเอียงที่จะมองในแง่ดีมากเกินไป คือประเมินผลบวกหรือผลที่ชอบใจว่ามีโอกาสเกิดมากเกินไป (ดูเรื่องที่สัมพันธ์กันในการคิดตามความปรารถนา)[57][58]
Ostrich effect (ปรากฏการณ์นกกระจอกเทศ)การไม่ใส่ใจในสถานการณ์ที่ไม่ดีแต่ชัดเจน
Outcome bias (ความเอนเอียงเรื่องผล)เป็นความโน้มเอียงในการประเมินการตัดสินใจโดยผลที่ได้ แทนที่จะประเมินคุณภาพการตัดสินใจในเวลาที่ตัดสิน
Overconfidence effect (ปรากฏการณ์มั่นใจมากเกินไป)เป็นการมั่นใจมากเกินไปเรื่องคำตอบของตน เช่น ในบางกรณี คำถามที่บุคคลตอบว่า มั่นใจ 99% จะผิดจากความจริง 40%[23][59][60][61]
แพริโดเลียสิ่งเร้าที่ไม่ชัดเจนหรือเกิดขึ้นแบบบังเอิญ (บ่อยครั้งเป็นภาพหรือเป็นเสียง) ทำให้รู้สึกรับรู้ว่าเป็นอะไรบางอย่าง เช่น เห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในเมฆ เห็นคนบนดวงจันทร์ และได้ยินข้อความซ่อนที่ไม่มีในตลับเทปที่เล่นกลับหลัง
Pessimism bias (ความเอนเอียงในการมองในแง่ลบ)เป็นความโน้มเอียงของคนบางคน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังมีภาวะซึมเศร้า ที่จะประเมินโอกาสที่สิ่งร้าย ๆ จะเกิดขึ้นกับตนเกินความจริง
Planning fallacy (เหตุผลวิบัติในการวางแผน)เป็นความโน้มเอียงที่จะกะเวลาที่จะทำงานเสร็จน้อยเกินไป[49]
Post-purchase rationalization (การสร้างเหตุผลหลังการซื้อ)เป็นความเอนเอียงที่จะกล่อมตัวเองด้วยเหตุผลว่า สิ่งที่ซื้อมีคุณค่าดี
Pro-innovation bias (ความเอนเอียงว่านวกรรมดี)เป็นความโน้มเอียงที่จะมองโลกในแง่ดีมากเกินไปเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์หรือนวกรรมต่อสังคมทั่วไป ในขณะที่ละเลยหรือไม่สามารถกำหนดข้อจำกัดหรือข้อเสีย
Pseudocertainty effect (ปรากฏการณ์ความแน่นอนเทียม)เป็นความโน้มเอียงที่จะรู้สึกว่า ผลที่จะเกิดขึ้นเป็นเรื่องแน่นอนแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะไม่ใช่ เป็นปรากฏการณ์ที่พบในการตัดสินใจหลายขั้นตอน[62]
Reactance (การทำตรงกันข้าม)เป็นความรู้สึกที่จะทำตรงข้ามกับสิ่งที่คนอื่นต้องการให้ตนทำ เป็นความต้องการที่จะต่อต้านความพยายามที่จะจำกัดอิสรภาพในการเลือกของตน
Reactive devaluation (การลดค่าโดยเป็นปฏิกิริยา)ข้อเสนออย่างหนึ่งดูมีค่าน้อยลงเพราะว่ามาจากศัตรู
Recency illusion (มายาว่าเร็ว ๆ นี้)การแปลสิ่งเร้าผิดว่าคำหรือการใช้ภาษาอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้แต่ความจริงเกิดมานานแล้ว
Restraint bias (ความเอนเอียงเรื่องบังคับตนเอง)เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินการบังคับตนเองได้ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมล่อใจ เกินกว่าความจริง
Rhyme as reason effect (ปรากฏการณ์เสียงสัมผัสโดยเป็นเหตุผล)คำที่มีเสียงสัมผัสฟังดูเหมือนเป็นจริงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สุภาษิตต่าง ๆ หรือตัวอย่างในภาษาอังกฤษที่ใช้ในคดีฆาตกรรมดังอเมริกันที่ยกฟ้องจำเลยคือ "If the gloves don't fit, then you must acquit (ถ้าถุงมือมันไม่ฟิต คุณจะต้องตัดสินปล่อยตัวจำเลย)"
Risk compensation (การชดเชยความเสี่ยง) หรือ Peltzman effect (ปรากฏการณ์เพ็ล์ตซแมน์)เป็นความโน้มเอียงที่จะทำอะไรเสี่ยงกว่า ถ้ารู้สึกว่าความปลอดภัยสูงขึ้น
Selective perception (การรับรู้โดยเลือก)เป็นความโน้มเอียงที่ความคาดหวังจะมีผลต่อการรับรู้
Semmelweis reflex (รีเฟล็กซ์เซ็มเมิลไวซ์)เป็นความโน้มเอียงที่จะปฏิเสธหลักฐานใหม่ ๆ ที่คัดค้านแบบแผนที่มีอยู่แล้ว[27]
Social comparison bias (ความเอนเอียงโดยการเปรียบเทียบทางสังคม)เป็นความโน้มเอียงที่จะตัดสินจ้างบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะว่าบุคคลนั้นจะไม่แข่งขันกับตนในด้านที่ตนมีจุดแข็ง[63]
Social desirability bias (ความเอนเอียงเรื่องความน่าพอใจทางสังคม)เป็นความโน้มเอียงที่จะรายงานบุคลิกหรือพฤติกรรมที่เป็นเรื่องน่าพอใจทางสังคมของตนมากเกินไป และรายงานของคนอื่นน้อยเกินไป[64]
Status quo bias (ความเอนเอียงเพื่อคงสถานะเดิม)เป็นความโน้มเอียงที่จะชอบใจให้สิ่งต่าง ๆ เป็นเหมือน ๆ เดิม (สัมพันธ์กับการหลีกเลี่ยงการเสีย, Endowment effect, และ system justification)[65][66]
Stereotyping (การใช้แม่แบบ)การคาดหวังว่าสมาชิกของกลุ่มมีคุณสมบัติอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่มีข้อมูลจริง ๆ สำหรับบุคคลนั้น ๆ
Subadditivity effect (ปรากฏการณ์การรวมต่ำไป)เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินความน่าจะเป็นของทั้งหมด น้อยกว่าความน่าจะเป็นของแต่ละส่วน ๆ รวมกัน[67]
Subjective validation (การกำหนดความถูกต้องโดยอัตวิสัย)เป็นความเอนเอียงทางประชานที่บุคคลจะพิจารณาบทความหรือข้อมูลว่าถูกต้องถ้ามีความหมายหรือความสำคัญต่อตนเอง[68]
Survivorship bias (ความเอนเอียงจากการอยู่รอด)การพุ่งความสนใจไปที่บุคคลหรืออะไรบางอย่าง ที่อยู่รอดผ่านกระบวนการอย่างหนึ่ง แล้วละเลยอย่างไม่ได้ตั้งใจบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ไม่รอดเพราะมองไม่เห็น
Time-saving bias (ความเอนเอียงเรื่องประหยัดเวลา)การประเมินเวลาที่จะประหยัดหรือเสียไปน้อยเกินไป เมื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว เมื่อความเร็วนั้นค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว หรือว่าการประเมินเวลาที่จะประหยัดหรือเสียไปมากเกินไป เมื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว เมื่อความเร็วนั้นค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
Unit bias (ความเอนเอียงที่จะทำเป็นหน่วย)เป็นความโน้มเอียงที่จะทำการงานเป็นหน่วย ๆ เห็นได้ชัดในเรื่องการบริโภคอาหาร[69]
Well travelled road effect (ปรากฏการณ์ไปตามทางที่ใช้บ่อย)เป็นการประเมินเวลาการไปตามทางที่ไปบ่อย ๆ น้อยเกินไป และตามทางที่ไปไม่บ่อย มากเกินไป
Zero-risk bias (ความเอนเอียงเพื่อความเสี่ยงศูนย์)ความชอบใจที่จะลดความเสี่ยงที่มีน้อยให้เหลือศูนย์ มากกว่าจะลดความเสี่ยงที่มีมากในระดับที่สูงกว่า
Zero-sum heuristic (ฮิวริสติกแพ้ชนะรวมกันเป็นศูนย์)รู้โดยไม่ต้องคิดว่า สถานการณ์หนึ่งเป็นเรื่องแพ้-ชนะ (คือการได้การเสียสัมพันธ์กัน หรือการได้การเสียบวกกันได้ศูนย์)[70][71] การเกิดความเอนเอียงเช่นนี้ถี่ ๆ อาจสัมพันธ์กับบุคลิกภาพในด้านความเป็นใหญ่ในสังคม

ใกล้เคียง

รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน) รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รายชื่อสัตว์ รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ) รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร รายชื่อตัวละครในวันพีซ รายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูร รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต รายชื่อตัวละครในนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน http://books.google.com/books?id=9TUIAAAAQBAJ&pg=P... http://books.google.com/books?id=JRd7RZzzw_wC&pg=P... http://books.google.com/books?id=Vv1vvlIEXG0C&pg=P... http://books.google.com/books?id=sILajOhJpOsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=zQ10cPSz1lMC&pg=P... http://www.human-nature.com/nibbs/04/gelman.html http://www.investopedia.com/terms/h/halo-effect.as... http://journals.lww.com/academicmedicine/Fulltext/... http://opinionator.blogs.nytimes.com/2010/06/20/th... http://www.psmag.com/culture/theres-a-name-for-tha...